วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

การใช้งานตู้อบความร้อน BPG-9070A




การใช้งาน ตู้อบความร้อน รุ่น BPG-9070A

Drying Oven

การใช้งาน
1          การเตรียมเครื่องสำหรับใช้งาน

ควรใช้งานเครื่องในสภาวะแวดล้อมดังนี้
1.1     อุณหภูมิอยู่ในช่วง 5 ºC – 40 ºC
ความชื้นสัมพัทธ์ น้อยกว่า 85%
1.2           สภาวะแวดล้อมที่ใช้งานต้องไม่มีการสั่นสะเทือน 
ที่รุนแรง หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าใกล้ๆ
1.3           ไม่ควรวางเครื่องไว้ในบริเวณที่มีฝุ่นมาก หรือ  
ถูกแสดงแดดโดยตรง หรือมีแก๊สที่มีฤทธิ์กัดกร่อน
1.4           ใช้ไฟให้ตรงตามที่เครื่องระบุไว้
  1.5     ใส่ถาดวางของและปรับความสูงตามความเหมาะสม เมื่อวางตัวอย่างเข้าไปในตู้ควรเว้น พื้นที่ว่างด้านข้างให้เหมาะสม และควรวางตัวอย่างให้มีน้ำหนักพอดีเพื่อป้องกันไม่ให้ถาดวางแอ่นงอ

2          การเปิดเครื่อง
2.1     วางตัวอย่างไว้ในเครื่อง ปิดประตูโดยกดปุ่มที่อยู่ที่ประตูเมื่อปิดประตูแล้วให้ปล่อยมือจากปุ่มนี้
2.2     การเปิดปิดประตูบ่อยๆ จะทำให้อุณหภูมิภายในตู้ไม่คงที่ และการควบคุมอุณหภูมิขาดความแม่นยำ
2.3     เมื่อเปิดเครื่อง ไฟหน้าจอจะสว่างและจะได้ยินเสียงพัดลมทำงาน
2.4     ภายหลังจากการ Self-checking ประมาณ 4 วินาที่ ระบบควบคุมอุณหภูมิจะเริ่มทำงาน บนหน้าจอจะแสดงค่า PV (อุณหภูมิขณะใดๆ) และ SV (อุณหภูมิที่ตั้งไว้)  สัญลักษณ์ดวงอาทิตย์  บนหน้าจอเป็นตัวบ่งบอกว่าฮีตเตอร์กำลังทำงาน ซึ่งด้านล่างขวาของหน้าจอจะบ่งบอกถึง Output capacity  ในกรณีที่ไฟดับ หรือเมื่อมีการเตือน สัญลักษณ์  สี่เหมี่ยมคางหมู จะปรากฏบนหน้าจอด้านล่างของคำว่า ALARM
2.5       การตรวจสอบ Accuracy of Thermal Control
1.          วางเทอร์โมมิเตอร์ชนิด 0.5 ºC graduation mercury thermometer (หรือ Digital thermo-detector ที่มีความละเอียด 0.1 ºC) ไว้ภายในตู้โดยให้อยู่ตรงกลางตู้
2.          ตั้งค่า SV ก่อน แล้วรอให้ค่า PV เท่ากับ SV ที่ตั้งไว้ ให้ทิ้งระยะเวลาไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง จากนั้นให้ดูค่าความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิภายในตู้กับอุณหภูมิที่วัดได้จากเทอร์โมมิเตอร์ โดยที่ความแตกต่างของอุณหภูมิทั้งสองต้องไม่มากกว่าค่า Fluctuation ของเครื่อง

3          การตั้งอุณหภูมิ
3.1     ค่าอุณหภูมิตั้งต้นที่ตั้งมาจากทางโรงงานคือ SV=80 หรือ 100 ºC
3.2     เมื่อต้องการตั้งอุณหภูมิที่ค่าอื่นๆ ทำดังนี้
1.          กดปุ่ม OK จากนั้นตัวเลข PV จะแสดง “ SP ” ส่วนตัวเลข SV จะแสดงตัวเลข 0” แสดงว่าเครื่องไม่ได้อยู่ใน Mode การตั้งเวลา
2.          ตั้งค่าโดยใช้ปุ่ม  ลูกศรชี้ขึ้น  หรือ  ลูกศรชี้ลง  หากต้องการเลื่อนตำแหน่งของตัวเลขให้ใช้ปุ่ม ลูกศรชี้ไปทางซ้าย  เมื่อตั้งอุณหภูมิได้ตามต้องการแล้วกดปุ่ม OK
3.          กดปุ่ม ลูกศรเลี้ยวซ้าย (ลง)  เพื่อเริ่มการทำงานตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้
4          การตั้งเวลา
4.1     ภายหลังจากการกดปุ่ม OK ค่า PV จะเปลี่ยนเป็น  “Sl” และค่าของ SV จะเป็น 0”
4.2     ตั้งเวลาโดยใช้ปุ่ม ลูกศรชี้ขึ้น  หรือ  ลูกศรชี้ลง (สามารถตั้งได้ตั้งแต่ 1 9999 นาที) จากนั้นกดปุ่ม ลูกศรเลี้ยวลงซ้าย  เพื่อเริ่มจับเวลา เมื่อสิ้นสุดการทำงานจะขึ้นคำว่า SV End; เครื่องจะหยุดการทำงานและจะมีเสียง บี๊บดัง 4 ครั้ง เมื่อต้องการเริ่มการทำงานใหม่ให้กดปุ่ม  ลูกศรชี้ขึ้น  และ  ลูกศรชี้ลงพร้อมกันค้างไว้ประมาณ 4 วินาที
4.3     เมื่อมีการตั้งเวลาการทำงาน แล้วต้องการดูเวลา สามารถทำได้โดยการกดปุ่ม ลูกศรชี้ทางซ้าย  ซึ่งระยะเวลาการทำงานที่ผ่านมาจะแสดงค่าที่ PV ส่วนเวลาการทำงานที่ตั้งไว้จะแสดงที่ SV

5          การตั้งค่า Up Different Alarm
ค่า Up different Alarm นี้มีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบควบคุมอุณหภูมิหลุดจากจากการควบคุมอุณหภูมิ
5.1           ค่า AL ที่ตั้งมาจากทางโรงงานจะมีค่า AL=2-3 โดยที่ Alarming temperature คือ (SV + AL) ºC กล่าวคือเครื่องจะเตือนเมื่ออุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิที่ตั้งไว้ + AL
5.2     การตั้งค่า AL ทำได้โดยกดปุ่ม OK ค้างไว้ประมาณ 4 วินาที่ จนกระทั่งค่า PV เป็นสัญลักษณ์  “ AL”  (เป็นสัญลักษณ์แสดงว่าเข้าสู่เมนูการตั้งค่าพารามิเตอร์ของเครื่องแล้ว) ให้กดปุ่ม ลูกศรชี้ขึ้น  หรือ  ลูกศรชี้ลง เพื่อเลื่อนไปที่เมนู “Lk”
5.3     เข้าสู่การปลดล็อคการแก้ค่าพารามิเตอร์ ให้กดปุ่ม OK จนกระทั่ง PV เป็นสัญลักษณ์ “LY ”  แล้วเปลี่ยนรหัสผ่านจาก 0” เป็น 18”
            (ถ้าหากไม่มีการกดปุ่มใดๆ นานเกิน 1 นาที เครื่องจะกลับเข้าสู่หน้าจอการใช้งานปกติ)
5.4     กดปุ่ม OK จนกระทั่ง PV เป็นสัญลักษณ์ “ AL”  แล้วใช้ปุ่ม  ลูกศรชี้ขึ้น  หรือ  ลูกศรชี้ลง เพื่อตั้งค่า AL แล้วกดปุ่ม OK
5.5     กดปุ่ม OK จนกระทั่ง PV เป็นสัญลักษณ์ “LY ” แล้วเปลี่ยนรหัสผ่านจาก 18” เป็น 0”

6          การทำให้ Thermal Control มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น
6.1     เมื่อใช้งานเครื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง จะต้องมีการตรวจสอบ Accuracy of Thermal Control ตามวิธีการที่ได้อธิบายไว้ในหัวข้อ 2.6  ถ้าหากค่าเกิน ±1 ºC ให้ทำการแก้ค่าดังนี้
            1.          เข้าสู่เมนูการตั้งค่าพารามิเตอร์ (ตามวิธีการในหัวข้อ 3.5.2)
            2.          ทำการปลดล็อคค่าตัวแปร (ตามวิธีการในหัวข้อ 3.5.3)
            3.          กดปุ่ม OK จนกระทั่งเจอคำว่า “ PY ”
                       
                                    As per PK  = 4000 X   (SV Value  - Mercury Meter Value)
                                                                    ___________________________
                                                                        Mercury Meter  Value
                       
เมื่อคำนวณค่าตามสูตรได้ ให้ป้อนค่า PK โดยใช้ปุ่ม  ลูกศรไปทางซ้าย, ลูกศรชี้ขึ้น, ลูกศรชี้ลง (เมื่อใส่ค่าแก้ไปแล้วแต่เครื่องยังไม่มีความแม่นยำสามารถป้อนค่าแก้ใหม่ได้ตามความเหมาะสม)
4          เมื่อต้องการเปลี่ยนค่าพารามิเตอร์ในเมนูอื่นๆ สามารถทำได้โดยการกดปุ่ม OK เพื่อเลือกพารามิเตอร์ที่ต้องการ ซึ่งสัญลักษณ์ของพารามิเตอร์จะแสดงที่ PV ส่วนค่าของพารามิเตอร์จะแสดงที่ SV
5          เมื่อแก้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ตามที่ต้องการแล้วให้กดปุ่ม OK เพื่อยืนยัน และเมื่อต้องการกลับให้กดปุ่ม ลูกศรเลี้ยวลงซ้าย 


2          การบำรุงรักษาเครื่อง และคำแนะนำ
1.          ทุกครั้งที่ใช้งานเสร็จให้ปิดสวิตซ์เครื่อง จากนั้นเปิดบล็อกประตู แล้วรอให้ภายในเย็นลงจึงค่อยนำตัวอย่างออกจากตู้
2.          ในกรณีที่ต้องเห็บเครื่องเป็นระยะเวลานานให้ทำความสะอาดภายในและภายนอกตู้ จากนั้นถอดปลั๊กออก จากนั้นคลุมด้วยพลาสติกกันฝุ่น
3.          ในกรณีที่ต้องเกิบเครื่องไว้ในสภาสวะแวดล้อมที่มีความชื้นสูง ให้เปิดเครื่องทุกๆ 1 เดือนเพื่ออุ่นเครื่องและไล่ไอน้ำ
4.          เมื่อต้องการใช้งานเครื่องอีกครั้งหรือภายหลังจากมีการซ่อมแซมเครื่อง ให้ตรวจสอบ Accuracy of thermal control ก่อน
5.          เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ยกเว้นค่า SV, AL, Pk, Lk ให้ติดต่อตัวแทนจำหน่ายเพื่อให้ทำการแก้ไขให้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น